ข้อมูลการผลิตและการจัดจำหน่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ชื่อวิสาหกิจชุมชน กลุ่มหัตถกรรมสุขภาพ บ้านหนองสมบัติ
รูปแบบและกิจกรรมการผลิต
มีทั้งแบบต่อเนื่องละตามใบสั่งซื้อจากลูกค้า
มีปริมาณการผลิตไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลา
จำนวนสมาชิกที่สร้างงานและปริมาณการสั่งซื้อจากลูกค้า
สรรพคุณ บำรุงผิวให้เนียนนุ่ม
ขาวกระจ่างใส ไร้ความหมองคล้ำ
วิธีใช้
ควรใช้ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกายเป็นประจำเช้า-เย็น
แนวคิดของสินค้า / การดำเนินการผลิต /
ข้อมูลประวัติการผลิตสินค้า
ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกิดจากการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่นอย่าง “มะขาม”
เป็นสบู่ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำผึ้ง จึงถูกเรียกว่า
“ สบู่มะขามน้ำผึ้ง” ให้เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพ
บ้านหนองสมบัติ โดยมีแนวคิดว่ามะขามเป็นพืชที่มากในท้องถิ่น และมีประโยชน์
สรรพคุณมากกว่าการเป็นผลไม้หรือวัตถุดิบประกอบอาหารธรรมดา
หากแต่มะขามยังมีสรรพคุณเกี่ยวกับความงามด้วย อีกทั้งในปัจจุบัน
คนทุกเพศทุกวัยต่างให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยความงามมากขึ้น
จึงทำให้ทางประธานกลุ่มสนใจและเริ่มที่จะศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ความงามจากมะขามเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในกลุ่มต่างๆ
แล้วทำการจัดตั้งกลุ่มสมาชิกเพื่อการผลิต
อีกทั้งมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางในการผลิตและประยุกต์ให้มีสรรพคุณที่มากขึ้นกว่าสบู่มะขามธรรมดาที่มีทั่วไป โดยการใส่ส่วนผสมของน้ำผึ้ง
เพื่อเพิ่มสรรพคุณของสบู่ จนเกิดเป็นสบู่มะขามน้ำผึ้ง ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ธรรมดาอย่างมะขามและยังสร้างรายได้ให้กับสมาชิกของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพ
บ้านหนองสมบัติอีกด้วย
เป้าหมายและความคาดหวังของธุรกิจ /
การขยายงาน / การผลิตสินค้าและการใช้บรรจุภัณฑ์
ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้ธรรมดาอย่างมะขามและสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม
ชุมชนและครอบครัว
สภาพปัจจุบัน / ปัญหาที่เกิดขึ้น /
ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อการแข่งขัน
1.
สภาพปัจจุบัน / ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการผลิตผลิตภัณฑ์
- กำลังการผลิตน้อย เครื่องมือไม่มีศักยภาพ
2. สภาพปัจจุบัน /
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบรรจุภัณฑ์
- ไม่ดึงดูดสายตาหรือความสนใจของผู้ซื้อ
3. สภาพปัจจุบัน /
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการตลาดและการขนส่ง
-
มีตลาดลูกค้าไม่กว้างขวางและมีระบบขนส่งไม่สมบูรณ์พร้อมจึงทำให้การกระจายสินค้าไม่กว้างขว้าง
การศึกษาวิเคราะห์วิพากษ์และใช้เป็นต้นแบบการศึกษาวิจัยด้วยวิธี Visual & Swot Analysis และการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษาและพัฒนา (Community-based
participatory research : CBPR) ร่วมให้ข้อมูลและร่วมตัดสินใจคัดเลือกผลงานโดยวิธีการแบบประชุมสนทนากลุ่มย่อย
(Focus Groups)
วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคและโอกาส
(SWOT Analysis)
ผลิตภัณฑ์สบู่มะขามน้ำผึ้งกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพ
บ้านหนองสมบัติ
จุดแข็ง
- ผลิตภัณฑ์มีราคาย่อมเยา
- ใช้วัสดุท้องถิ่น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีต้นทุนการผลิตไม่สูง
- ผลิตภัณฑ์สามารถใช้ได้กับคนทุกระดับ
จุดอ่อน
- กำลังการผลิตน้อย
เวลาในการผลิตไม่แน่นอน
- มีคู่แข่งในตลาดมาก
- การประชาสัมพันธ์ไม่กว้างขวาง
- รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ไม่ดึงดูดความสนใจ
- ผู้ประกอบการขาดทักษะทางการตลาด
โอกาส
- มีความพร้อมทางด้านแหล่งวัตถุดิบ
- สามารถรับงานการผลิตตามสั่งของลูกค้าได้
- หน่วยงานรัฐให้การสนับสนุน
- ผลิตภัณฑ์สามารถประยุกต์ และพัฒนาได้
อุปสรรค
- จำนวนผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวในตลาดมีมาก
- ค่าแรงงานและค่าขนส่งมีราคาสูง
- สินค้าไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
- หน้าร้านที่จัดจำหน่ายไม่กว้างขวาง